การทำงานต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นเจ้านายหรือลูกน้อง เพราะทุกคนเกิดมาไม่เหมือนกัน ต่างจิต ต่างใจ ต่างความคิดเห็น ต่างมุมมอง ต้องอาศัยความเข้าใจและวิธีการพูดคุยที่จะทำงานร่วมกัน
ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ผลงานอย่างที่องค์กร ได้วางไว้ หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ “ได้ทั้งใจ ได้ทั้งงาน” โดยเคล็ดลับดีๆ ที่จะสามารถให้เจ้านายเป็นที่ต้องการของลูกน้อง
1. จงฟังให้มากกว่าพูด
ดังนั้นถ้าอย ากได้ใจลูกน้อง เคล็ดลับอันแรกสุด ก็คือ การพูดถึงตัวเองให้น้อยลง และจงฟังในสิ่งที่ลูกน้องพูดให้มากขึ้นและเมื่อฟัง ก็ต้องฟังอย่างเข้าใจ ไม่ใช่แค่ได้ยินเท่านั้น ต้องเข้าใจเลยว่า ทำไมลูกน้องเราถึงพูดแบบนั้น
โดยปกติเมื่อคนเรารู้สึกว่า กำลังมีคนอีกคนที่รับฟังเราอย่างเข้าใจ ความรู้สึกที่ดีก็จะเกิดขึ้นในใจแล้ว ลูกน้องเราเองก็เช่นกัน
2. จงให้คำชมกับความพย าย ามของลูกน้อง
เคล็ด ลับที่สองก็คือ เมื่อลูกน้องทำดีหรือมีความพย าย ามทำในสิ่งที่ดี ที่ถูก เราในฐานะหัวหน้า ก็ต้องให้ความสำคัญกับเขาด้วย โดยการให้การชื่นชมอย่างจริงใจ โดยเฉพาะกับหัวหน้าของตนเอง พนักงานยิ่งอย ากได้คำชมจากหัวหน้าตนเอง
เพราะมันทำให้พนักงานรู้สึกว่า หัวหน้ากำลังให้การยอมรับในฝีมือ การทำงานของเขาอยู่และเมื่อพนักงานได้รับคำชม ที่จริงใจจากเราไปแล้ว ส่วนมากจะพย าย ามรักษ าระดับผลงานที่ดีไว้ให้เราเห็นเสมอ
3. จงแสดงความสนใจและใส่ใจในตัวลูกน้อง
เคล็ดลับที่สาม ถ้าเราอย ากจะได้ใจ ลูกน้อง สิ่งที่จะต้องทำก็คือการใส่ใจ และสนใจลูกน้องของตนเองให้มากไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงาน เรื่องส่วนตัว เป็นต้น หัวหน้าควรจะให้ความสนใจให้มากขึ้น
4. จงขอความช่วยเหลือจากลูกน้อง
โดยไม่สั่งงาน แต่เปลี่ยนมาเป็น การขอความช่วยเหลือจากลูกน้อง ด้วยวิธีนี้จะทำให้ลูกน้องรู้สึก ถึงความภาคภูมิใจในตนเองมากกว่า
เช่นแทนที่จะสั่งก็เปลี่ยนเป็นบอกลูกน้องว่า “จากงานที่แล้วผมเห็นคุณบริหารงานโครงการได้ดีมากเลย ตอนนี้ผมมีอีกโครงการหนึ่งที่จะต้องขอความช่วยเหลือจากคุณ เพื่อให้โครงการนี้สำเร็จไปได้ด้วยดี……”
ถ้ามองให้ลึกจริงๆ แล้วก็คือการมอบหมายงาน นั่นเอง เพียงแต่เราอาศัยหลักทางจิตวิทย าเล็กน้อย โดยทำความเข้าใจความรู้สึกของคนเราว่า ต้องการเป็นคนสำคัญ มาใช้ในการมอบหมายงาน
5. ใจเขาใจเรา อกเขาอกเรา
ผู้นำหรือผู้บริหารที่จะอยู่ในหัวใจ ของลูกน้องได้ไม่มีอะไรมาก ขอเพียงยึดมั่นในหลัก “ใจเขาใจเรา …อกเขาอกเรา” ใช้ใจอย่างเดียวนำทาง แค่นี้ก็สามารถที่จะทำให้ลูกน้องรักและ ศรัทธาในตัวผู้นำได้อย่างน่าทึ่ง การบริหารที่จะให้ได้ใจลูกน้อง
ไม่จำเป็นต้องพึ่งหลักการบริหารหรือ ทฤษฎีใดๆ หรือตำราวิชาการทั้งหลาย ทิ้งไปได้เลย ใช้ “ใจ” และ “ความรู้สึก” ก็เป็นอันสำเร็จแล้ว
6. อ่ านใจลูกน้องให้ออก
ผู้นำที่ดีต้องอ่ านใจ ลูกน้องออก มองทะลุ ว่าเขาเป็นคนอย่างไร โดยจะต้องเรียนรู้และศึกษาลูกน้องให้รู้จักตัวตน นิสัยใจคอ คุณสมบัติ รวมถึงศักยภาพของเขาให้ได้มากที่สุด ซึ่งวิธีที่จะเรียนรู้และศึกษาลูกน้องนั้นมีหลายวิธี เริ่มตั้งแต่ การพูดคุย ความใกล้ชิด
การเฝ้าสังเกตพฤติกรร ม การแสดงออกต่างๆ ของเขา รวมถึงการหาข้อมูล เกี่ยวกับตัวเขา เช่น ครอบครัว การศึกษา หน้าที่การงาน และอื่นๆ เช่นชอบหรือไม่ชอบอะไร เป็นต้น
7. พูดอย่างตรงไปตรงมา
จากผลสำรวจด้านการสื่อส ารในองค์กรพบว่า สิ่งที่พนักงานต้องการจากหัวหน้ามากที่สุดคือคำพูดที่ซื่อสัตย์และไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก คนฟังส่วนใหญ่ต้องการฟังเรื่องราวความจริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไหนก็ตาม
อย่าลืมว่าความไว้ใจ ที่ลูกน้องมีให้นั้นหาซื้อกันไม่ได้ หากสิ่งที่ไม่ควรพูดที่สุดแต่ถ้าพลาดพูดไป ก็ออกมายอมรับผิดในสิ่งที่ทำและอธิบายเหตุผลของเรื่องทั้งหมดคนส่วนใหญ่สามารถยอมรับข้อผิดพลาดของคนอื่นได้ แต่การโกห ก อย่างต่อเนื่องนั้นเป็นเรื่องที่เกินจะรับได้
8.มองโลกในแง่ดี
การทำงานมี ทั้งต้องเจอเรื่องดีและเรื่องร้ าย ผสมๆ กันไป เดินทางสายกลางบนความเป็นไปได้คือสิ่งที่ดีที่สุด อย่าลืมว่าลูกน้องเห็นเราเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน ฉะนั้น เมื่อต้องผ่าน วิ ก ฤ ติ พูดกับตัวเองไว้เสมอว่า “ทำได้ ทำได้”
ถ้าคุณพูดจาประช ด ประชันว่าคุณไม่อย ากจะทำงานนี้เลย คิดเสียใหม่ว่ามันเป็นเกียรติมากแค่ไหน ที่ได้รับงานนี้มาทำ แล้วถ้าคุณทำได้ยิ่งก็จะยิ่งเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจ เมื่อคุณคิดว่าทำได้คุณก็จะทำตามในสิ่งที่เชื่อได้จริงๆสิ่งที่ไม่ควรพูดที่สุด
คือถ้าบริษัทที่กำลังมีปัญหา และลูกน้องที่ไม่ได้ความจะยิ่งแ ย่ ถ้าคุณพูดจาประชด ประชันว่าคุณไม่อย ากจะทำงานนี้เลย คิดเสียใหม่ว่ามันเป็นเกียรติมากแค่ไหน ที่ได้รับงานนี้มาทำ แล้วถ้าคุณทำได้ยิ่งก็จะยิ่งเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจ พูดเรียบง่ายให้เข้าใจ เราควรจะพูดเพื่อให้คนที่เราพูดอยู่ด้วยเข้าใจได้ง่ายที่สุด
ไม่ใช่พูดด้วยคำที่ฟังดูสวยหรูหรือ ดูฉลาดมากจนเกินไป พูดให้ง่ายเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อความเข้าใจในหัวข้อนั้นๆ ควรอธิบายให้ฟังเป็นขั้นตอนว่าต้องทำอย่างไร
9.ไม่เม้าท์ลูกน้อง
ไม่ดีแน่ หากมีการนินทาเกิดขึ้น คุณไม่มีทางได้รับความไว้ใจและความจริงใจ จากใครอีกเลย แต่ถ้าพูดไปแล้วไม่มีประโยชน์ สู้ตั้งหน้าตั้งตาทำงานน่าจะดีกว่า เพราะหากพูดไปท้ายที่สุดก็จะไม่มีใครไว้ใจคุณอีก
เคล็ดลับต่างๆ ข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ที่ใช้เป็นแนวทางในการยึด หรือปฏิบัติเท่านั้น เพราะท้ายที่สุดแล้ว เจ้านายและลูกน้องต้องอาศัยการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และพร้อมที่จะทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางไว้
ขอขอบคุณ s m e t h a i l a n d c l u b
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น