การศึกษา ซื้อได้ แต่..พ่อแม่ไม่สามารถซื้อ ส มองให้ลูกได้ - HotNews

การศึกษา ซื้อได้ แต่..พ่อแม่ไม่สามารถซื้อ ส มองให้ลูกได้

 

ทุกลมหายใจของคนเป็นพ่อเป็นแม่ คือ การศึกษา ของลูกแน่นอนว่า พ่อแม่..

ย่อมอยากให้ลูกได้รับ การศึกษา และสิ่งที่ดีที่สุด แต่การเลี้ยงลูกยุคนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย

เข้าใจว่า…ทุกวันนี้ การศึกษา คือ “อนาคต” ความหวังที่จะช่วยพลิกโอกาส

ให้ลูกคุณมีอนาคตที่ดีหลายๆ ครอบครัวจึงทุ่มเท ทุ กสิ่งที่มีทั้ง เงิ น

และ เวลา แลกกับ การศึกษา ให้ลูกได้เรียนโรงเรียนดีๆ มีราคาสูง

คอสติวสอนพิเศษต่าง ๆ มากมาย จนลืมไปว่า…ควรพัฒนาทักษะด้านอื่น ควบคู่กันไปด้วย

ตอนที่ลูกอายุได้ 2 ขวบ เราส่งลูกเข้า “เนอสเซอรี่” หมดค่าใช้จ่ายไปปีละ 8 หมื่น

เพียงแค่คิดว่า กลัวจะพัฒนาไม่ทันเพื่อน เรียนไม่ทันเพื่อน กลายเป็นส่งลูกไป ติ ด ห วั ด

ที่โรงเรียน เพราะวัยนี้ ภูมิต้านทานยังไม่แข็งแรงพอ ไหนจะเสี่ ย งที่จะต้องเจอ

กับพี่เลี้ยงที่ไม่ดี สอนแบบผิ ดๆ อีก กลายเป็นพฤติกร ร ม ตัวอย่าง ที่ซึมซับมาโดยไม่รู้ตัว

เมื่ออนุบาล ยันประถม

เราจัดเต็ม ทั้งในและนอกหลักสูตร ต้องกวดวิชาเพื่อเตรียมสอบเข้า ป.1

และ เสริมด้วย คณิตศาสตร์ ว่ายน้ำ ไวโอลิน อังกฤษ จีน ฯลฯ

กลัวลูกจะไม่เก่ง กลัวจะน้อยหน้าข้างบ้าน หารู้ไม่ว่า “จิตนาการ” ต่างหาก

คือสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่จะนำพาให้ลูกคุณเติบโตขึ้น ไปเป็นผู้ใหญ่

ที่ประสบความสำเร็จ ได้ในอนาคต แต่คุณกำลังบังคับให้ เรียนโน้น ทำนี่

ฝึกนั่น เป็นการปิ ด กั้ น พัฒนาการในด้านการ “จินตนาการ” และการฝึกคิดไปโดยอัตโนมัติ

เรากลัวว่า ลูกจะไม่เก่ง แต่ไม่เคยถามความรู้สึกของลูกจริงๆ ว่าเขาฝันอยากเป็นอะไร

หรือ… เพียงแค่เพราะเราแค่ยัดเยียดความฝัน ที่เราทำไม่สำเร็จ

ความล้มเหลวที่เราทำให้พ่อแม่ผิ ด หวังไปไว้ที่ลูกให้เป็นคนที่ประสบความสำเร็จ

เพื่อมาชดเชย “ปม” ความล้ ม เห ล วในอดีตของเรา

พอถึงมัธยมอมเปรี้ยว

คราวนี้หนักเลย เพื่อที่จะสอบได้คะแนนดีๆ เพื่อเข้ามหาลัยดีๆ ได้

เรียนพิเศษทุกเย็น หลังเลิกเรียน เสาร์ อาทิตย์ จัดเต็มวัน ปิดเทอมไม่มีพัก

ส่งลูกเรียนซัมเมอร์ยุโรป ออสเตรลีย บางทีลูกไม่อยากไป แต่พ่อแม่นี่แหละ

อยากให้ไป บางบ้านหมดเงินปีละ 6-7 แสน เพียงเพื่อให้ลูกได้เรียน

ในสิ่งที่คิดว่าดี (แต่ไม่รู้ดีจริงไหม..) ยังไม่ทันเข้ามหาลัยกดไปเป็น สิบล้าน…!!

ถึงวัยทำงาน คือ “โลกแห่งความเป็นจริง” พอลูกเรียนจบก็คาดหวังว่า…

ลูกฉันเลี้ยงมาอย่ า งพิเศษใส่ไข่ เพิ่มข้าว ดังนั้นจะจ้างลูกฉัน มันต้องแพงกว่าสิ…

นี่ส่งเรียนไปสิบกว่าล้านเลยนะ

“ปัญหา คือ คุณค่าของใบปริญญา… พ่อแม่ กับ นายจ้าง มองไม่เท่ากัน”

พ่อแม่ชาวไทย ตี ค่าใบปริญญาลูกรักสูงมาก เพราะเราอยู่ในกระบวนการจ่ายเงินจริง

ด้วยราคาสูงอย่างยากลำบาก ยาวนาน 20 ปี

นายจ้าง กลับตี ค่าไม่สูงเท่าพ่อแม่ กลับมีคำถามใหญ่ ๆ 3 คำถาม คือ

1. ลูกคุณทำอะไรเป็นบ้าง

2. ลูกคุณเคยทำอะไรสำเร็จมาบ้าง

3. ลูกคุณจะมาสร้างความสำเร็จอะไรให้ที่นี่

อย่าลืมว่ายุคนี้ คือ ยุคที่เปิดกว้าง…

“คนอินเดีย” พร้อมบินมาทำงานที่ กทม. เขียนโปรแกรมเก่ง

ยังกับคลอดออกมาจากคอมพิวเตอร์ แถมขยันขันแข็ง ยังกับหุ่น ย นต์

“คนฟิลิปปินส์ อินโด มาเลย์” พร้อมจะบินมาทำงานที่กรุงเทพ

พวกเขาเก่งภาษาอังกฤษ ลอจิกดี คุมงาน เป็นหัวหน้าโปรเจคต์ พรีเซนต์ดี ไม่แพ้ฝรั่ง

“คนจีน” ไม่ต้องพูดถึง ความขยันอ่ าน ขยันข ายของ ขยันพบลูกค้า ใจสู้มาก

ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ โดนด่ า ไม่ยุบ พวกนี้ คือ ยอดเซลล์แมน

แต่ กับคนไทย ปริญญามหาลัยมันเริ่มจะเบลอ ๆ ไม่ศักดิ์สิทธิ์ เหมือนรุ่นพ่อแม่ แน่นอนว่า

ย่อมมี บางคนได้ไปต่อเจริญรุ่งเรืองโกอินเตอร์ แต่ก็มีจำนวนมากที่แป้ก ตั้งแต่อายุยังน้อย

“ความเห็นส่วนตัวผม”

ถ้าพ่อแม่ชาวไทย (ส่วนหนึ่ง) ที่ลงทุนกับการศึกษาลูกด้วยเงินจำนวนมากๆ

ลองปรับแนวคิดสักเล็กน้อย ลองประหยัดเงินบางส่วน แล้วนำเงินก้อนเดียวนี้

เริ่มทำธุรกิจให้ลูกในช่วงปิดเทอม ให้ลูกได้ใช้ความพย าย าม ลองผิ ด ลองถูก

ริเริ่มสร้างสรร เป็นผู้ประกอบการ ในยุคสมัยที่ อาชีพการงานไม่เป็นใจ

ในอนาคตอีก 10-15 ปีข้างหน้า ลองเผื่อ เวลาจากการศึกษาที่จัดเต็ม (เกินไป)

ให้เขาได้ลองริเริ่ม เรียนรู้ ลองเขียนหนังสือลองเขียนโปรแกรมสร้างแอพ

ลองdesign รับงานแปล ลองขายของ ลองลงทุน ฯลฯ

จนท้ายที่สุด ได้ลองหาเงินด้วยตัวเองให้ได้ ก่อนที่ จะเข้าเรียนมหาลัย

ถ้าเขาสามารถส่งตัวเองเรียนได้ หรือ มีรายได้มาแบ่งเบาภาระเรื่องค่าศึกษาได้บ้าง

อันนี้จะช่วยพัฒนาเขาได้ ไม่แพ้การศึกษาในระบบที่แสนแพง (พ่อแม่ได้ภูมิใจ)

ลูกได้ฝึก ภู มิ ต้ า น ท า น และ ความแกร่ง เพราะ เงินเพียงอย่ า งเดียว

ไม่สามารถซื้อ ส ม อ งให้ลูกคุณได้ ซึ่งหมายถึง ส ม อ ง จริงๆ ไม่ใช่คะแนนสอบที่สูงลิ่ว

แต่คิดอะไรเองไม่ได้ เริ่มต้น ทำอะไรเองไม่เป็นอันนั้นไม่ได้เรียกว่า ฉลาด

แต่เรียกว่าท่องจำเก่ง แล้วนำไปทำข้อสอบได้มันคงจะดีกว่านี้ สำหรับลูกคุณ

ถ้าทั้งเก่ง ในข้อสอบและเก่งในทักษะชีวิตจริง

“ถ้าอยากให้ ลูกคุณเก่ง

คุณต้องหาทางให้ลูก..ได้เจอครูที่สุดยอด

ไม่ใช่..โรงเรียนที่สุดยอด”

บทความดี ๆ : นิ้วโป้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น